โรคสมาธิสั้น (ADHD)

สมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น (ADHD)

ADHD มักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง เด็กผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีอาการไม่ตั้งใจเท่านั้น และมีโอกาสน้อยที่จะแสดงพฤติกรรมก่อกวนที่ทำให้อาการสมาธิสั้นชัดเจนขึ้น ซึ่งหมายความว่าเด็กผู้หญิงที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยเสมอไป
อาการของโรคสมาธิสั้น (ADHD) แบ่งตามปัญหาพฤติกรรมได้ 2 ประเภท คือ

  • อาการขาดสมาธิ ได้แก่ สมาธิสั้น ไม่สามารถคงสมาธิได้ต่อเนื่อง ทำงานหรือการบ้านไม่เสร็จ ทำงานไม่รอบคอบ มีความยากลำบากในการทำงานที่ต้องวางแผนทำเป็นลำดับขั้นตอน มีอาการเหม่อ ใจลอย วอกแวกง่าย ขี้ลืมบ่อย ทำของที่สำคัญหายบ่อย
  • อาการซนและหุนหันพลันแล่น ได้แก่ วิ่งซน ปีนป่าย เล่นเสียงดัง ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ มักประสบอุบัติเหตุจากความซน ขาดความระมัดระวัง ลุกออกจากที่นั่งหรือเดินในห้องเรียนขณะที่ครูสอน ยุกยิก อยู่ไม่สุข พูดมากเกินไป พูดโพล่ง พูดแทรกบทสนทนา วู่วามใจร้อน ไม่สามารถรอคอยคิวได้

สารบัญ

อาการในเด็กและวัยรุ่น << คลิ๊ก

ภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้อง << คลิ๊ก

การรักษา << คลิ๊ก

สรุป << คลิ๊ก

SE-ED Learning Center

( เรียนพิเศษ สายไหม )

( เรียนพิเศษ ลำลูกกา / เรียนพิเศษ รังสิต )

สาขา ลำลูกกา และ สายไหม

อาการในเด็กและวัยรุ่นที่มีสมาธิสั้น

อาการของโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่นนั้นมีความชัดเจน และมักจะสังเกตเห็นได้ก่อนอายุ 6 ขวบ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้มากกว่า 1 สถานการณ์ เช่น ที่บ้านและที่โรงเรียน เด็กอาจมีอาการทั้งไม่ตั้งใจเรียน สมาธิสั้น และหุนหันพลันแล่น หรืออาจมีอาการเพียง 1 ในพฤติกรรมเหล่านี้

สัญญาณหลักของการขาดสมาธิคือ:

  • มีสมาธิสั้นและวอกแวกง่าย
  • Inattentiveness (ความยากในการตั้งสมาธิและโฟกัส)
  • ทำผิดพลาดโดยประมาท เช่น ในงานโรงเรียน หลงลืมหรือทำของหาย
  • ไม่สามารถยึดติดกับงานที่น่าเบื่อหรือใช้เวลานานได้
  • ดูเหมือนจะไม่สามารถฟังหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้

สัญญาณหลักของสมาธิสั้นและความหุนหันพลันแล่นคือ:

  • ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่สงบหรือเงียบสงบ
    อยู่ไม่สุขอย่างต่อเนื่อง
  • ไม่สามารถมีสมาธิกับงานได้
  • การเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป
  • พูดมากเกินไป
  • ไม่สามารถรอถึงตาของพวกเขาได้
  • กระทำโดยไม่คิด
  • ขัดจังหวะการสนทนา
  • รู้สึกถึงอันตรายเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

อาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญในชีวิตของเด็ก เช่น การเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่ดีกับเด็กและผู้ใหญ่คนอื่นๆ และปัญหาเกี่ยวกับระเบียบวินัย

คลิ๊กลิ้งด้านล่าง

>เรียนภาษาอังกฤษ รังสิต<

(และ โซนใกล้เคียง)

( ลำลูกกา สายไหม สุขาภิบาล 5)

ภาวะที่เกี่ยวข้องในเด็กและวัยรุ่นที่มีสมาธิสั้น

วิเคราะห์จากอาการเพียงอย่างเดียวอาจจะยังไม่ครอบคลุม เด็กบางคนอาจมีสัญญาณของปัญหาหรือเงื่อนไขอื่นๆ ควบคู่ไปกับโรคสมาธิสั้นก็เป็นได้ เช่น:

  • โรควิตกกังวล – ซึ่งทำให้ลูกของคุณวิตกกังวลและวิตกกังวลเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก และเวียนศีรษะ
  • โรคต่อต้านฝ่ายตรงข้าม (ODD) – สิ่งนี้ถูกกำหนดโดยพฤติกรรมเชิงลบและก่อกวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีอำนาจเช่นผู้ปกครองและครู
  • ความประพฤติผิดปกติ – มักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมต่อต้านสังคม เช่น การขโมย การต่อสู้ การป่าเถื่อน และการทำร้ายคนหรือสัตว์
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ปัญหาการนอน – นอนหลับยากในตอนกลางคืน และมีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติ
  • โรคออทิสติกสเปกตรัม (ASD) – สิ่งนี้ส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสาร ความสนใจและพฤติกรรม
  • dyspraxia – ภาวะที่ส่งผลต่อการประสานงานทางกายภาพ
  • โรคลมบ้าหมู – ภาวะที่ส่งผลต่อสมองและทำให้เกิดอาการชักซ้ำๆ
  • Tourette’s syndrome – ภาวะของระบบประสาท มีลักษณะเฉพาะจากเสียงและการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้ตั้งใจ ปัญหาการเรียนรู้ – เช่น dyslexia

คลิ๊กลิ้งค์ด่านล่าง

>เรียนภาษาอังกฤษ ลำลูกกา<

(และ คณิตศาสตร์ โซนใกล้เคียง)

( สายไหม รังสิต สุขาภิบาล 5)

การรักษาโรคสมาธิสั้น

การรักษาโรคซนสมาธิสั้นที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน คือ การปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นเนิ่น โดยจะได้รับคำแนะนำการรักษาที่เหมาะสม เช่น การรักษาด้วยยา และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

การรักษาด้วยยา

ยาที่ใช้รักษาโรคซนสมาธิสั้นที่ได้ผลดีที่สุดที่มีในประเทศไทย คือ กลุ่ม Methylphenidate ซึ่งมีทั้งแบบที่ออกฤทธิ์สั้น ที่ต้องกินวันละ 2-3 ครั้ง และแบบที่ออกฤทธิ์ยาวที่สามารถกินวันละ 1 ครั้งได้

โดยยาจะออกฤทธิ์ไปยับยั้งการทำลายสารเคมีในสมอง (ที่เด็กมีน้อยกว่าปกติ) ช่วยให้เด็กมีความจดจ่อในการทำงานมากขึ้น คงสมาธิได้ยาวขึ้น เรียนหนังสือได้ดีขึ้น ซนน้อยลง สามารถควบคุมตัวเองและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้การช่วยเหลือที่บ้าน

  • ปรับทัศนคติของคุณพ่อคุณแม่ต่อลูกที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นให้เป็นบวก ให้กำลังใจลูกในการพัฒนาตัวเอง
  • ใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเชิงบวก ได้แก่ เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของลูก ชมเชย ให้รางวัล โดยให้ทันทีที่ทำพฤติกรรมดี จะช่วยให้ลูกมองเห็นข้อดีของตัวเอง และมีกำลังใจที่จะประพฤติตัวดีขึ้น
  • มีเวลาคุณภาพใช้เวลาทำกิจกรรมที่สนุกสนานร่วมกันในครอบครัว เพื่อจะได้สังเกตข้อดีของลูก ชื่นชมสิ่งที่ดีๆในตัวลูก นำไปสู่ความรู้สึกมีคุณค่า ความภาคภูมิใจในตัวเองของลูก
  • จัดกฎระเบียบในบ้าน เช่น ห้ามดูทีวีขณะทำการบ้าน ห้ามขว้างปาของ เล่นของเล่นเสร็จแล้วต้องเก็บเข้าที่ คุณพ่อคุณแม่ทำเป็นแบบอย่าง และควบคุมกฎให้ชัดเจนและสม่ำเสมอ
  • ทำข้อตกลงให้เด็กรู้ล่วงหน้าว่าถ้าทำผิดจะมีโทษอย่างไร ควรใช้การลงโทษโดยวิธีการจำกัดสิทธิ เช่น งดดูการ์ตูน งดเที่ยวนอกบ้าน หักค่าขนม ริบโทรศัพท์ เป็นต้น
  • ควรเลี่ยงวิธีทำโทษโดยการตี ดุด่า หรือใช้ความรุนแรง เพราะจะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นเด็กที่ก้าวร้าวและใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
  • ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับเด็ก เช่น มีที่ให้เด็กทำการบ้านและอ่านหนังสืออย่างสงบ ในช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องอยู่ช่วยควบคุมให้ทำงานเสร็จ มีตารางเวลากิจวัตรประจำวันที่แน่นอน ฝึกให้เด็กทำกิจกรรมทีละอย่าง ให้เด็กหยุดพักช่วงสั้นๆได้เมื่อเห็นว่าเด็กหมดสมาธิแล้ว
  • ฝึกทักษะการบริหารจัดการโดยคุณพ่อคุณแม่ช่วยกำกับ เช่น จัดกระเป๋านักเรียน เตรียมอุปกรณ์ วางแผนทำและส่งงานให้ทันตามกำหนด ฝึกใช้ข้อความเตือนความจำ
  • ฝึกเทคนิคให้เด็กคิดก่อนทำ stop-think-do it เช่น ให้เด็กนับ 1-2-3 ก่อนลงมือทำ
  • ฝึกให้เด็กรู้จักคิดถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำ และฝึกทักษะการแก้ปัญหา
  • ส่งเสริมให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กีฬาบางชนิดที่มีลำดับขั้นตอน มีกติกา เช่น เทควันโด ฟุตบอล โยคะ พบว่าช่วยฝึกสมาธิ และสอนให้เด็กรู้จักแพ้-ชนะ รอคอยคิว ทำตามกติกาได้
  • ลดเวลาของเด็กในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ดูสื่อ ดูทีวี ให้เหลือน้อยที่สุด ให้จำกัดเวลาเล่น โดยต้องทำงานหรือการบ้านให้เสร็จก่อน การใช้สื่อเหล่านี้มากเกินไปจะยิ่งทำให้สมาธิและการควบคุมตัวเองแย่ลง

ความแตกต่างคลิ๊ก

>เรียนภาษาอังกฤษ สายไหม<

(และ คณิตศาสตร์ โซนใกล้เคียง)

( ลำลูกกา รังสิต สุขาภิบาล 5)

สรุป

โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นในเด็ก และวัยรุ่น มีความชัดเจนของอาการ และมักจะสังเกตเห็นได้ก่อนอายุ 6 ขวบ ได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง

อาการที่พบส่วนใหญ่จะไม่มีสมาธิ วอกแวก ไม่สามารถยึดติดกับงานที่ใช้เวลานานๆ ได้ และไม่สามารถฟังหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ การรักษาทำได้โดยการทานยา และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของเด็กๆ การปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นเนิ่นจะส่งผลดีที่สุด

SE-ED Learning Center สาขาอื่นๆ

จะมีทั้งหมดประมาณ 20 สาขา ทั่วประเทศ

ดูสาขาอื่นๆ