อยากให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง ทำยังไง

ลูกกล้าคุยกับเรา

คุณคิดว่าจะเป็นเรื่องที่ดีรึป่าว หากลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง? การมีพื้นที่การพูดคุยกันแบบเปิดเผยนั้นถือเป็นสิ่งที่พ่อแม่หลาย ๆ คนใฝ่ฝัน การสร้างความสัมพันธ์ที่ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่องนั้น ต้องอาศัยความพยายาม บทความนี้จะช่วยคุณสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการพูดคุยกับลูก กำหนดขอบเขตที่เหมาะสมเพื่อการพูดคุยที่ดี และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของลูกคุณ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างพื้นที่ของการสื่อสารแบบเปิดใจกันภายในครอบครัว

คลิ๊กลิ้งด้านล่าง

>เรียนภาษาอังกฤษ รังสิต<

(และ โซนใกล้เคียง)

( ลำลูกกา สายไหม สุขาภิบาล 5)

สารบัญ

สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับการพูดคุย << คลิ๊ก

กำหนดขอบเขตและแนวทางที่สร้างสรรค์ << คลิ๊ก

ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและการตั้งคำถาม << คลิ๊ก

สรุป << คลิ๊ก

SE-ED Learning Center

เรียนพิเศษ รังสิต

ใกล้สาขา ลำลูกกา มากที่สุด

สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับการพูดคุย

พื้นฐานของการสื่อสารแบบเปิดเผยคือความไว้ใจ เมื่อลูกของคุณรู้สึกปลอดภัยและได้รับความเข้าใจ ลูกก็จะมีแนวโน้มที่จะเปิดเผยเรื่องต่างๆ กับคุณมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นหัวข้อที่ยากก็ตาม นี่คือวิธีการสร้างความไว้วางใจสำหรับลูก เพื่อให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง

  • เป็นผู้ฟังที่ดี – ให้ความสนใจลูกอย่างเต็มที่ระหว่างการสนทนา เปลี่ยนจากการ “ได้ยิน” เป็นการ ”ฟัง” ให้ความสนใจกับภาษากาย ความรู้สึกที่อยู่ในน้ำเสียง และอารมณ์ที่อยู่เบื้องหลังคำพูดของลูก ขจัดสิ่งรบกวนออกไป และสบตากับลูก สะท้อนความรู้สึกของลูกกลับมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจลูกจริงๆ เช่น “ฟังดูเหมือนหนูจะรู้สึกหงุดหงิดนะ…”
  • ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของลูก – การที่ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่องนั้น คุณต้องยอมรับว่าความรู้สึกของลูกนั้นเป็นเรื่องจริงและเป็นสิ่งสำคัญ แม้แต่ความรู้สึกด้านลบ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของลูก แต่หากคุณสามารถยอมรับมันได้ มันจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจจะทำให้ลูกรู้สึกไม่โดดเดี่ยว เช่น “แม่เห็นว่าหนูโกรธอยู่ บอกแม่ได้ไหมคะว่าทำไม”
  • หลีกเลี่ยงการตัดสินหรือวิจารณ์ – มุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจมุมมองของลูก อย่ารีบเร่งเสนอทางแก้ไขหรือแก้ไขให้ลูกทันที เพระหากอยากลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง คุณควรบอกลูกว่าพวกเขาสามารถแบ่งปันสิ่งต่างๆ กับคุณได้โดยไม่ต้องกลัวปฏิกิริยาด้านลบหรือคำวิจารณ์

ความแตกต่างคลิ๊ก

>เรียนภาษาอังกฤษ สายไหม<

(และ คณิตศาสตร์ โซนใกล้เคียง)

( ลำลูกกา รังสิต สุขาภิบาล 5)

  • เคารพความเป็นส่วนตัวของลูก – ให้ลูกมีพื้นที่ส่วนตัวเล็กๆ สำหรับความคิดและความรู้สึกของพวกเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาโตขึ้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าคุณเชื่อใจพวกเขาและช่วยให้ลูกมีความมั่นใจในการตัดสินใจด้วยตนเอง นี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งหากอยากให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง
  • รักษาความสม่ำเสมอ – ความน่าเชื่อถือเป็นกุญแจสำคัญ ที่แสดงให้ลูกเห็นอย่างต่อเนื่องว่าคุณจะคอยเคียงข้างพวกเขาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในยามที่ทุกอย่างสวยงามหรือยามที่ต้องพบกับความพ่ายแพ้ ฉลองชัยชนะของลูก ปลอบโยนเวลาที่ต้องพบกับความผิดหวัง และพร้อมเสมอที่จะพูดคุยอย่างจริงใจ สิ่งนี้เองที่จะบ่มเพาะความเชื่อมั่นให้ฝังรากลึกลงไปในใจของลูก และทำให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง

อย่าลืมว่าการสร้างความไว้วางใจต้องใช้เวลา เมื่อคุณแสดงความรักและการสนับสนุน ลูกๆ จะค่อยๆ รู้สึกสบายใจมากขึ้นในการแบ่งปันโลกของพวกเขากับคุณ และกล้าที่จะพูดคุยเกี่ยวกับทุกอย่าง

คลิ๊กลิ้งค์ด่านล่าง

>เรียนภาษาอังกฤษ ลำลูกกา<

(และ คณิตศาสตร์ โซนใกล้เคียง)

( สายไหม รังสิต สุขาภิบาล 5)

กำหนดขอบเขตและแนวทางที่สร้างสรรค์

ถึงแม้ว่าจะอยากลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง แต่การกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนสำหรับการสื่อสารที่ให้ความเคารพซึ่งกันและกันก็สำคัญเช่นกัน การสื่อสารแบบเปิดเผยไม่ได้หมายความว่าทุกคนมีสิทธิ์พูดหรือระบายอะไรออกมาก็ได้ตามใจ การกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมจะสอนให้ลูกของคุณรู้จักเคารพทั้งตนเองและผู้อื่น แถมยังเสริมสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่ช่วยส่งเสริมบทสนทนาที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

เลือกเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม – แม้ว่าคุณอยากให้ลูกของคุณรู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยกับคุณ แต่ก็ต้องช่วยให้ลูกของคุณเข้าใจด้วยว่าเวลาและสถานการณ์นั้นสำคัญ หลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องยากๆ หรือหัวข้อที่อ่อนไหวมาคุยก่อนนอนหรือในช่วงเวลาที่เร่งรีบ ควรให้ความสำคัญกับช่วงเวลาที่ทุกคนสามารถหันมาโฟกัสในการพูดคุยและให้พื้นที่ให้กับการสนทนานี้อย่างเต็มที่ การทำแบบนี้จะเป็นผลดีมากกว่าหากคุณอยากให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง

การพูดคุยอย่างเคารพซึ่งกันและกัน – การที่จะให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่องนั้น เราควรตกลงร่วมกันว่ากฎเกณฑ์พื้นฐานระหว่างการพูดคุยคืออะไร เช่น การใช้ภาษาที่เหมาะสม พูดเพราะๆ การตั้งใจฟังผู้อื่น และวิธีการแสดงความเห็นต่างแบบเคารพกันและกัน เน้นย้ำการใช้ประโยคที่มีคำว่า “หนู/ผม รู้สึก…” เพื่อถ่ายทอดอารมณ์อย่างสร้างสรรค์และหลีกเลี่ยงการพูดจารุนแรง

เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น – เด็กเรียนรู้ผ่านการสังเกต! เมื่อคุณมีความคิดเห็นไม่ตรงกันกับคู่ครองของคุณ สมาชิกในครอบครัว หรือคนอื่นๆ คุณควรแสดงให้ลูกเห็นถึงวิธีการถ่ายทอดความรู้สึกของคุณออกมาอย่างสงบและมีเหตุผล แสดงให้เห็นถึงวิธีการหาจุดประนีประนอมและร่วมกันหาทางออก

พักหายใจหากจำเป็น – การสนทนาที่จริงจังอาจทำให้เด็กๆ รู้สึกหนักใจ บอกลูกว่า การขอหยุดพักชั่วคราวแล้วกลับมาคุยกันอีกครั้งเมื่อทุกคนรู้สึกสงบลงนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้

กำหนดขีดจำกัดในบางหัวข้อ (ให้เหมาะสมกับวัย) – เมื่อเด็กๆ เติบโตขึ้น การพูดคุยถึงบางหัวข้อกับผู้ใหญ่ที่มีความน่าเชื่อถือท่านอื่น (เช่น แพทย์ นักให้คำปรึกษา หรือ ครู) อาจจะเหมาะสมหรือเป็นประโยชน์มากกว่า แม้จะเปิดใจรับฟังลูกๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่าการได้รับคำแนะนำและการเคารพพื้นที่ส่วนตัวนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมและมีประโยชน์เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าทำไมการคุยกับบุคคลเฉพาะบางคนเกี่ยวกับบางหัวข้ออาจจะมีประโยชน์ต่อพวกเขามากกว่า สิ่งนี้เป็นการทำเพื่อลูกอย่างแท้จริง

โปรดจำไว้ว่า การกำหนดขอบเขตนั้นไม่ได้มีไว้เพื่อปิดกั้นลูก แต่เป็นการสร้างกรอบการสื่อสารที่เคารพความต้องการของทุกคนและบ่มเพาะความรู้สึกปลอดภัย สภาพแวดล้อมที่รู้สึกมั่นคงและปลอดภัยนี้จะกระตุ้นให้เกิดความไว้วางใจที่มากขึ้น ทำให้ลูกของคุณรู้สึกสบายใจและ จะทำให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง

SE-ED Learning Center

( เรียนพิเศษ สายไหม )

( เรียนพิเศษ ลำลูกกา / เรียนพิเศษ รังสิต )

สาขา ลำลูกกา และ สายไหม

ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและการตั้งคำถาม

เด็กๆมีความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ! การส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นนี้จะไม่เพียงแค่จุดประกายให้เกิดความรักในการเรียนรู้เพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในความคิดของตนเองและทำให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง ต่อไปนี้คือวิธีการบ่มเพาะความอยากรู้อยากเห็นในตัวลูก

ถามคำถามปลายเปิด – หลีกเลี่ยงคำถามที่ตอบแค่ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” เริ่มบทสนทนาด้วยคำพูดอย่างเช่น “หนูคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?” “เรื่องนี้ทำให้หนูรู้สึกอย่างไร?” หรือ “แม่/พ่อสงสัยจังว่าทำไม…ถึงเป็นอย่างนี้” การตั้งคำถามแบบนี้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกของคุณได้ใช้ความคิดอย่างลึกซึ้ง และเรียบเรียงความคิดออกมาอย่างชัดเจน

กล้าที่จะพูดว่า “ไม่รู้” – ถึงแม้คุณจะอยากให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง แต่การยอมรับว่าคุณไม่ได้มีคำตอบให้ทุกเรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องน่าอาย ถ้าลูกถามอะไรที่คุณไม่รู้คำตอบ ให้ลองเปลี่ยนจากการเบี่ยงเบน เป็นการคิดและช่วยค้นหาคำตอบร่วมกัน

มองหัวข้อที่สนใจไปด้วยกัน – ถ้าลูกของคุณแสดงความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้คุณลองค้นคว้าและสนใจไปพร้อมกับพวกเขาเลย ลองหาหนังสือที่ห้องสมุด ดูสารคดี เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ หรือลองทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของพวก การออกสำรวจไปด้วยกันนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าคำถามของลูกสำคัญและมีค่า และจะทำให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง

ให้ความสำคัญกับทุกคำถาม – คุณควรให้ความสำคัญกับทุกคำถามไม่ว่าคำถามนั้นจะแปลกประหลาดหรือดูไร้สาระแค่ไหน ให้มองว่าทุกคำถามมีคุณค่า ตอบรับคำถามทุกคำถามด้วยความกระตือรือร้นและความสนใจอย่างแท้จริง การทำเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าการถามคำถามเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนใจ

แนะแนวทางแทนที่จะปิดกั้น – แม้ในช่วงเวลาที่ลูกถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ทำให้คุณรู้สึกอึดอัดใจ ก็พยายามที่จะยังมีส่วนร่วมในบทสนทนา ลองให้คำอธิบายที่เหมาะสมกับวัย หรือให้เด็กค้นหาข้อมูลที่เชื่อถือได้จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ การปิดกั้นคำถามอาจทำให้ลูกไม่กล้าถามคำถามในครั้งต่อไป

การเปิดรับความอยากรู้อยากเห็นและการให้ความสำคัญกับถามของลูก เป็นวิธีสร้างบรรยากาศภายในให้ลูกได้เรียนรู้ว่าความคิดของเขามีความหมายและทำให้ลูกของคุณรู้สึกปลอดภัยและทำลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง นี่คือรากฐานที่สำคัญที่สุดของการสื่อสารแบบเปิดเผยอย่างแท้จริง

SE-ED Learning Center สาขาอื่นๆ

จะมีทั้งหมดประมาณ 20 สาขา ทั่วประเทศ

ดูสาขาอื่นๆ

สรุป

การทำให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่องนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องทำเรื่อย ๆอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพูดคุย การกำหนดขอบเขตที่ให้เกิดความเคารพซึ่งกันและกัน และการส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของลูก จะช่วยให้คุณปลูกฝังความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างครอบครัวซึ่งมีรากฐานจากความไว้วางใจและบทสนทนาที่เปิดกว้าง โปรดจำไว้ว่าความสม่ำเสมอและความอดทนเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ด้วยความทุ่มเท คุณจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่ทำลูกของคุณรู้สึกสบายใจและทำให้ลูกกล้าคุยกับเราได้ทุกเรื่อง