สำหรับผู้ปกครองหลายๆคน การสอนการบ้านลูกแล้วโมโห อาจจะเป็นฝันร้าย ในบางครั้งอาจจะรู้สึกหงุดหงิด มีอารมณ์โมโห ทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้
อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความเครียดและคราบน้ำตาของลูกอีกด้วย ในบางบ้านคุณพ่อ คุณแม่ อาจจะรู้สึกว่า
- “ทำไมลูกจึงไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำการบ้านเลย”
- “ทำไมไม่สามารถเขียนคำศัพท์ได้”
- “ทำไมไม่สามารถนั่งนิ่งๆเพื่อทำงานให้เสร็จได้”
ในบทความนี้จะมีเทคนิคต่างๆที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับการสอนการบ้านลูกค่ะ
การทำการบ้านนั้น นอกจากจะช่วยให้ลูกได้ทบทวนบทเรียนแล้วยังเป็นการฝึกวินัยไปในตัวอีกด้วย เพราะฉะนั้นการทำการบ้านที่มีปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ลูกได้มีเวลาฝึกฝนเพิ่มเติมและเข้าใจบทเรียนมากขึ้น
6 เทคนิคป้องกันการสอนการบ้านลูกแล้วโมโห
- เทคนิคที่ 1-2 < คลิ๊ก
- การจัดบรรยากาศ
- วางแผนเวลา
- เทคนิคที่ 3-4 < คลิ๊ก
- แบ่งงานเป็นส่วนย่อยๆ
- หมั่นการชมเชย
- เทคนิคที่ 5-6 < คลิ๊ก
- หลีกเลี่ยงความกดดัน
- เริ่มจากสิ่งที่สำคัญ
- ตัวช่วยและสรุป < คลิ๊ก
เทคนิคที่ 1 การจัดบรรยากาศหรือสถานที่ให้เหมาะสมกับการทำการบ้าน
โดยคุณพ่อคุณแม่ควรจัดมุมทำการบ้านที่เป็นกิจจะลักษณะ ดังนี้
- ไม่มีสิ่งรบกวน
- ไม่เปิดทีวีระหว่างช่วงเวลาทำการบ้าน
- ไม่มีของเล่นวางไว้บนโต๊ะ
- ควรเก็บสิ่งที่จะดึงความสนใจของลูกออกจากบริเวณ
โดยควรเป็นมุมในบ้านที่เงียบสงบ มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยให้ลูกมีสมาธิกับการทำการบ้านและไม่วอกแวก โอกาสการสอนการบ้านลูกแล้วโมโห ก็จะน้อยลงไม่มากก็น้อย เนื่องจากน้องมีสมาธิมากขึ้นและสนใจสิ่งที่เราสอนมากขึ้น
เทคนิคที่ 2 การจัดการแผนเวลาสำหรับการทำการบ้าน
คุณพ่อคุณแม่ควรตกลงร่วมกับบุตรหลานก่อนว่าจะมีการทำการบ้านในช่วงเวลาใดของวัน ก่อนที่จะไปทำกิจกรรมอื่นๆ การตกลงกันล่วงหน้า จะทำให้ลูกๆไม่งอแงเมื่อถึงเวลาทำการบ้าน เนื่องจากเป็นข้อตกลงที่เห็นร่วมกันก่อนหน้านั้นไว้แล้ว
เทคนิคที่ 3 แบ่งงานเป็นส่วนย่อยๆ
หากในวันนั้นลูกมีการบ้านหลายวิชา คุณพ่อคุณแม่อาจจะแบ่งทำทีละวิชาสลับกับการพักเบรก เพื่อให้ลูกได้พักสมอง และเพื่อไม่ให้รู้สึกว่าใช้เวลานานเกินไปในการทำการบ้านแต่ละส่วนให้เสร็จ โดยอาจจะทำครึ่งชั่วโมงและพักทานขนมหรือเล่น 10 นาทีและกลับมาทำต่อเป็นต้น
ซึ่งเด็ก ส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์จากการพักในช่วงสั้น ๆ เด็กบางคนชอบพักด้วยการ กระโดดโลดเต้น หรือ วิ่งไปมา หรือเด็กบางคน อาจชอบพักฟังเพลงโปรด อย่างไรก็ตามให้หลีกเลี่ยงการใช้กิจกรรมที่ยากต่อการหยุดทำเช่น การดูการ์ตูนเรื่องโปรด เป็นต้น
เทคนิคที่ 4 การชมเชยเพื่อให้กำลังใจ
ระหว่างทำการบ้านคุณพ่อคุณแม่ควรหาจังหวะชมเชยลูก เพื่อให้ลูกมีกำลังใจและสร้างทัศนคติที่ดีเวลาทำการบ้าน โดยอาจจะชมว่า “ลูกพยายามดีมาก” “คำตอบข้อนี้คิดได้ถูกต้องเก่งมากๆเลย” เป็นต้น การชมอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองและอยากทำการบ้านในครั้งต่อไป
นอกจากการชมเชยแล้วการให้รางวัลในความสำเร็จระหว่างทางก็ช่วยให้น้องๆ มีกำลังใจมากขึ้นเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น
เดี๋ยวนี้น้องทำการบ้านได้เองแล้วถูกหมดทุกข้อเลย คุณพ่อคุณแม่ พิจารณาการให้รางวัลซื้อจักรยานให้น้องๆเพื่อให้น้องๆ ออกกำลังกาย มากขึ้น เป็นต้น
ความแตกต่างคลิ๊ก
(และ คณิตศาสตร์ โซนใกล้เคียง)
( ลำลูกกา รังสิต สุขาภิบาล 5)
เทคนิคที่ 5 หลีกเลี่ยงบรรยากาศกดดัน
การพูดตำหนิ ดุ ต่อว่า ตะคอก ระหว่างที่ทำการบ้านจะสร้างความกดดันให้กับลูก และในบางครั้ง ลูกอาจจะต่อต้านและไม่อยากทำต่อ ทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ไปกว่าเดิม คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักไว้เสมอว่า การตะโกนหรือตะคอกนั้น ไม่ช่วยให้ลูกสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นเลย มีแต่จะสร้างความกดดันและบรรยากาศที่ไม่ดีเท่านั้นเอง
การสอนการบ้านลูกเป็นโอกาสที่ดี ที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้ฝึกทำงานร่วมกับลูก อีกทั้งยังได้ติดตามพัฒนาการและเช็คความเข้าใจของลูกอีกด้วย การที่ลูกมีวินัยทำการบ้านเห็นเสร็จก่อนเป็นเล่น ถึงแม้ว่าคำตอบจะไม่ได้ถูกต้องทุกข้อ แต่นั้นก็ดีมากๆแล้ว และควรค่าแก่การได้คำชมเชยค่ะ
อย่างไรก็ตามให้ระมัดระวังเรื่องการสอนไม่ใช่การบอก การบอกคำตอบให้น้องๆเขียนตามจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีในระยะยาวอย่างแน่นอน
- ในระยะสั้น น้องๆ จะมีการบ้านมาส่ง บรรยากาศราบรื่นไม่กดดัน น้องๆชอบที่มีคุณพ่อคุณแม่คอยบอกคำตอบ น้องๆชอบทำการบ้านมากขึ้น และคุณครูก็ชอบและชื่นชมน้องเมื่อนำการบ้านไปส่ง
- ในระยะยาว เมื่อเป็นบทเรียนต่อๆไป น้องๆจะไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง คิดไม่เป็น เรียนไม่ทันเพื่อนในห้อง อาจจะส่งผลให้น้องๆ เริ่มไม่ชอบวิชานั้นๆ
คลิ๊กลิ้งค์ด่านล่าง
(และ คณิตศาสตร์ โซนใกล้เคียง)
( สายไหม รังสิต สุขาภิบาล 5)
เทคนิคที่ 6 เริ่มจากสิ่งที่สำคัญ
หากผู้ปกครองไม่มีเวลาเพียงพอที่จะสอนได้ทุกวิชา แนะนำให้เริ่มจากวิชาที่สำคัญ 2 วิชาคือวิชาภาษาอังกฤษ และวิชาคณิตศาสตร์ โดย 2 วิชานี้
ความสำคัญของวิชาภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล เป็นที่เข้าใจและพูดกันแทบทุกมุมโลก ในปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษช่วยในการเสริมทักษะการศึกษา เป็นอย่างมาก
เมื่อนักเรียนเก่งภาษาอังกฤษแล้ว ก็ไม่มีอุปสรรคใดที่จะหยุดนักเรียนจากการเรียนรู้เพิ่มเติมและรับการศึกษาให้มากขึ้น ทั้งในต่างประเทศและในสื่อออนไลน์
เราต้องเริ่มต้นตั้งแต่เนิ่นๆ การเรียนภาษาอังกฤษในช่วงชีวิตนักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมนี้
ความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ช่วยให้เราคิดวิเคราะห์และมีความสามารถในการใช้เหตุผลได้ดีขึ้น
- การคิดเชิงวิเคราะห์หมายถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับโลกรอบตัวเรา
- การใช้เหตุผลคือความสามารถของเราในการคิดอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับสถานการณ์หนึ่งๆ
ทักษะการวิเคราะห์และการใช้เหตุผลมีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้เราแก้ปัญหาและมองหาวิธีแก้ปัญหา ทักษะที่คุณใช้ในการกำหนดปัญหา ระบุเงื่อนไขสิ่งที่รู้และไม่รู้ เป็นกลยุทธ์สำคัญที่สามารถนำไปใช้กับปัญหาอื่นๆ ในชีวิตได้ การเรียนคณิตศาสตร์จะช่วยฝึกฝนให้น้องๆในทักษะนี้
มองหามืออาชีพมาช่วย
สำหรับผู้ปกครองที่ไม่มีเวลา เนื่องจากต้องทำงาน เราแนะนำให้หามืออาชีพมาช่วย หาที่เรียนพิเศษ ในวิชาหลักๆ 2 วิชาคือ วิชาคณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองลงได้
โดยผู้ปกครองทำหน้าที่เพียงคอยสังเกตสิ่งที่น้องๆ เรียน สุ่มถามเนื้อหาที่เรียนเพียงเล็กน้อยและคอยจดบันทึก เพื่อแจ้งให้ครูทราบรายละเอียดต่างๆ เผื่อจะได้ขอความช่วยเหลือจากคุณครูเพิ่มเติมในเรื่องนั้นๆ ต่อไปได้ค่ะ
สรุป
เทคนิคที่กล่าวในบทความนี้จะเป็นการป้องการไม่ให้ลูกมีพฤติกรรมไม่น่ารักขณะเราสอนการบ้าน โดยน้องๆ จะตั้งใจและสนใจสิ่งที่ผู้ปกครองสอนมากขึ้นอย่างแน่นอน
แต่ระหว่างทางการฝึกฝนนั้น น้องๆอาจจะมีการต่อลองและไม่ยอมทำตามในช่วงแรกๆ มีการต่อต้าน มีพฤติกรรมที่ชวนให้โมโห ขณะทำการบ้านบ้าง จึงเป็นที่มาปัญหา สอนการบ้านลูกแล้วโมโห ทำอย่างไรดี ?
เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกหงุดหงิดจากการสอนการบ้านลูก ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม ให้ออกจากห้อง และให้เวลากับตัวเองสงบสติอารมณ์ หายใจเข้าลึก ๆ สองสามครั้ง หรือทำอะไรก็ได้ที่ช่วยให้ใจเย็นขึ้น แล้วค่อยกลับไปสอนการบ้านลูกต่อค่ะ
SE-ED Learning Center สาขาอื่นๆ
จะมีทั้งหมดประมาณ 20 สาขา ทั่วประเทศ